1. ลิขสิทธิ์" คืออะไร
งานประเภทใดบ้างที่อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์
การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ทำให้เจ้าของงานมีสิทธิ์พิเศษในการใช้งานดังกล่าวโดยมีข้อยกเว้นบางประการ เมื่อบุคคลคนหนึ่งสร้างงานของตนซึ่งรวมอยู่ในสื่อที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของงานไปโดยปริยาย
งานหลายประเภทมีสิทธิ์ในการปกป้องลิขสิทธิ์ เช่น
งานด้านภาพและเสียง เช่น รายการทีวี ภาพยนตร์ และวิดีโอออนไลน์
การบันทึกเสียงและการประพันธ์เพลง
งานเขียน เช่น บทบรรยาย บทความ หนังสือ และการประพันธ์เพลง
งานด้านภาพ เช่น ภาพวาด โปสเตอร์ และโฆษณา
วิดีโอเกมและซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
งานด้านละคร เช่น ละครเวทีและละครเพลง
2. การจัดการสิทธิดิจิทอล (อังกฤษ: Digital Right Management หรือย่อว่าDRM)
คือเทคโนโลยีที่ใช้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลดิจิทัล (เช่น ซอฟต์แวร์ เพลง ภาพยนตร์) และฮาร์ดแวร์ซึ่งใช้จำกัดการใช้งานข้อมูลดิจิทัลเฉพาะงานใดงานหนึ่ง การจัดการสิทธิดิจิทัลมักสับสนกับ การป้องกันการคัดลอก ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีในการจำกัดการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสิทธิดิจิทัล
การจัดการสิทธิดิจิทัลเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมาก ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า การจัดการสิทธิดิจิทัลจำเป็นสำหรับเจ้าที่ลิขสิทธิ์สำหรับการป้องการการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้แน่ใจว่ามีรายได้จากผลงานต่อไป[1]ส่วนฝ่ายที่ติเตียนโดนเฉพาะมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีเสนอว่าการใช้คำว่า "สิทธิ" ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ จึงควรใช้ศัพท์ว่า การจัดการบังคับควบคุมดิจิทอล
3.การคัดลอกงาน ( Plagiarism)
คือ การคัดลอกผลงานหรือขโมยความคิดของคนอื่นโดยไม่อ้างอิงให้ถูกต้อง บางคนเรียกว่า “โจรกรรมทางวิชาการ” หรือ “โจรกรรมทางวรรณกรรม“
แต่จะว่าไป สมัยนี้การเขียนบทความทางออนไลน์ ทำให้การ “ตัด-แปะ” (cut & paste) ทำได้ง่ายมาก เด็กนักเรียนบ้านเราก็ชอบมาก ที่จะค้น google แล้ว ตัด-แปะ ข้อมูลที่ได้จาก wikipedia เพื่อทำการบ้านส่งครู … นักศึกษาตัดแปะข้อความจากบทความคนอื่น มาใส่ในวิทยานิพนธ์ของตน … เรียกว่าเป็น “Cyber-Plagiarism”
ในการตีพิมพ์ผลงาน การกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด มี 3 รูปแบบ คือ 1) Plagiarism การคัดลอกผลงานคนอื่น 2) Duplication คือการพิมพ์ซ้ำผลงานของตนเอง หรือ self-plagiarism 3) Co-submission
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น